วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

รายงานดัชนีนวัตกรรมโลกประจำปีนี้ เปิดเผยว่า สิงคโปร์ถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 3 ผู้นำนวัตกรรมโลก เป็นรองแค่เกาหลีใต้และสวีเดนเท่านั้น



สำนักข่าวบลูมเบิร์กเผยแพร่ Innovation Index หรือ ดัชนีนวัตกรรมประจำปี 2018 จัดให้สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 3 ประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านนวัตกรรมมากที่สุด เป็นรองเกาหลีใต้และสวีเดน แต่นำหน้าชาติยุโรป เช่น เยอรมนีและสวิสเซอร์แลนด์ ขณะที่เกาหลีใต้ยังคงรักษามาตรฐาน ครองอันดับสูงสุดของดัชนีไว้ได้เป็นปีที่ 5แล้ว ส่วนสวีเดนยังรักษาตำแหน่งในดัชนีจากปีก่อน อยู่ในอันดับที่สอง
รายงานจากบลูมเบิร์ก ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมา สิงคโปร์ถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 6 ซึ่งนำหน้าชาติยุโรปอย่างเยอรมนีและฟินแลนด์ เนื่องจากสิงคโปร์ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีระบบการศึกษาในระดับอุดมศึกษาดีที่สุดในโลก
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ที่ผ่านมา สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการให้ความรู้แก่ประชาชน มาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาขาวิชา STEM ย่อมาจาก สาขาวิชาที่เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์ ,เทคโนโลยี ,วิศวกรรมศาสตร์ และ คณิตศาสตร์
ด้านเกาหลีใต้ ที่ยังคงครองอันดับสูงสุด เป็นผลจาก สิทธิบัตรของ บริษัท ซัมซุงอิเล็กทรอนิคส์ จำกัด ที่ได้บุกตลาดอุปกรณ์สื่อดิจิทัล โฮมเอนเทอร์เทนเมนต์ และสมาร์ทโฟน
ขณะที่ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในสามประเทศในเอเชีย ก็ติดอยู่ในสิบอันดับแรกของโลกด้วย เพิ่มขึ้นหนึ่งอันดับจากปีที่ผ่านมา อยู่ในอันดับที่ 6 ของดัชนีประจำปีนี้ ส่วนสหรัฐฯ หลุดจากสิบอันดับแรก เป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี
ทั้งนี้ มาเลเซีย ฮ่องกง และไทย ก้าวเข้าสู่ 50 อันดับแรกของดัชนีด้วย โดยมาเลเซียถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 26 ตกลงมา 3 อันดับจากปีที่แล้ว ขณะที่ฮ่องกง อยู่ในอันดับที่ 37 ตกลงมาสองอันดับ ส่วนประเทศไทยร่วงลงมาหนึ่งอันดับ อยู่ในอันดับที่ 45

สวนดุสิตโพลเผยปช.มองขึ้นค่าแรงขั้นต่ำกระทบค่าครองชีพ-ข่าวนาฬิกาหรูพล.อ.ประวิตร ทำภาพรบ.เสื่อม

“สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสถานการณ์บ้านเมือง ณ วันนี้ที่มีข่าวสารความเคลื่อนไหว และเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคม และการมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางแก้ไข ทั้งนี้ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น1,189 คน ระหว่างวันที่ 16-20 มกราคม 2561 สรุปผลได้ว่า 5 อันดับข่าวที่ประชาชนคิดว่ามีผลกระทบต่อสังคมไทย
อันดับ 1   ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ  54.58%
มีผลกระทบ   คือ ทำให้สินค้าขึ้นราคา ข้าวของแพง ค่าครองชีพสูงขึ้น กระทบต่อนายจ้าง การจ้างงาน ฯลฯ

แนวทางแก้ไข คือ แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ แก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ดีขึ้น ลดราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ขึ้นค่าแรงเฉพาะบางพื้นที่ ฯลฯ

อันดับ 2   นาฬิกาหรู พล.อ.ประวิตร     48.02%
มีผลกระทบ   คือ  แสดงถึงความไม่โปร่งใส กระทบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล ขาดความน่าเชื่อถือ ประชาชนเกิดความสงสัย ฯลฯ

แนวทางแก้ไข คือ ออกมาชี้แจง มีเหตุผลประกอบที่เชื่อถือได้ มีการตรวจสอบที่โปร่งใส ชัดเจน ไม่ปกป้องพวกพ้อง ฯลฯ

อันดับ 3   หลักสูตรมหาวิทยาลัยไม่ได้มาตรฐาน  45.08%
มีผลกระทบ   คือ   สังคมไม่เชื่อมั่นต่อมหาวิทยาลัย แสดงถึงปัญหาของระบบการศึกษาไทย การเรียนการสอนไม่ได้คุณภาพ นักศึกษาได้รับผลกระทบ ฯลฯ

แนวทางแก้ไข คือ  แก้ไขและปรับปรุงหลักสูตรให้ได้มาตรฐาน มีหน่วยงานเข้ามาดูแลรับผิดชอบโดยตรง นำหลักสูตรและวิธีการของต่างประเทศมาปรับใช้ ฯลฯ

อันดับ 4   ขโมยบัตรประชาชน “น้องณิชา"    32.97%
มีผลกระทบ   คือ   ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้น ประชาชนไม่มั่นใจต่อระบบความปลอดภัยของธนาคาร ฯลฯ

แนวทางแก้ไข คือ  เพิ่มความระมัดระวัง ธนาคารต้องตรวจสอบให้ชัดเจน กวาดล้างแก๊งค์มิชฉาชีพให้หมดไป มีบทลงโทษที่เด็ดขาด ฯลฯ

อันดับ 5  ตำรวจ กับ อาบอบนวดวิคตอเรียซีเครท  32.21%
มีผลกระทบ   คือ  เสื่อมเสียภาพลักษณ์ของตำรวจ ประชาชนไม่เชื่อมั่น ยังมีการทุจริตคอรัปชั่น เอื้อประโยชน์ ฯลฯ

แนวทางแก้ไข คือ กำจัดการค้ามนุษย์ให้หมดไป มีกฎหมายควบคุมธุรกิจอาบอบนวดที่ชัดเจน ลงโทษตำรวจที่เกี่ยวข้องให้เป็นเยี่ยงอย่าง รัฐบาลแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ฯลฯ

อ่
อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/iq01/2770419

สวนดุสิตโพล: “ข่าว” ที่กระทบต่อสังคมไทยในสายตาประชาชน

สวนดุสิตโพล -- จันทร์ที่ 22 มกราคม 2561 08:37:06 น.
สถานการณ์บ้านเมือง ณ วันนี้ ยังมีข่าวสารความเคลื่อนไหว และเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ล้วนมีข่าวใหญ่เกิดขึ้น และสังคม ต่างให้ความสนใจ ความคิดเห็นของประชาชนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคม และการมีส่วนร่วมในการเสนอแนวทางแก้ไขอ่านต่อ
สวนดุสิตโพล: “ข่าว” ที่กระทบต่อสังคมไทยในสายตาประชาชน

ข้อมูลจาก อาร์วายที่ไนนท์ http://www.ryt9.com/si/sidp/2770568

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย -- ข่าวศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ข่าวศูนย์วิจัยกสิกรไทย จันทร์ที่ 22 ม.ค. 2018

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดส่งออก Q1/61 ผ่อนแรงลงจากปัจจัยฐาน หลัง Q4/60 โตถึง 11.7% ทั้งปีขยายตัวได้ 4.5%

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คงประมาณการอัตราการขยายตัวของมูลค่าส่งออกและนำเข้าสินค้าไทยตลอดทั้งปี 2561 ไว้ที่ 4.5% และ 8.0% โดยในช่วงที่เหลือของปี 2561 ยังต้องติดตามประเด็นการต่ออายุ GSP การกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ตลอดจนค่าเงินบาทที่จะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์ฯ จากปัจจัยทางการเมืองทั้งในและนอกประเทศอ่านต่อ

ศูนย์วิจัยกสิกรฯ คาดหนี้ครัวเรือนไทยปี 61 ชะลอลงจากปีก่อนเล็กน้อย สะท้อนทิศทางภาพรวมดีขึ้น

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีในปี 61 มีโอกาสขยับลงมาอยู่ที่กรอบประมาณ 77 78% ภายใต้สมมติฐานที่เศรษฐกิจไทยปี 2561 ขยายตัวในกรอบ 3.5 4.5% จากสิ้นปี 60 อยู่ที่กรอบประมาณ 78.3 78.5% เนื่องจากสินเชื่อรายย่อยหลายประเภท อาทิ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ รวมถึงสินเชื่อที่เติบโตได้ตามปัจจัยเชิงฤดูกาล อาทิอ่านต่อ
ข่าวศูนย์วิจัยกสิกรไทย เสาร์ที่ 20 ม.ค. 2018

กสิกรฯคาดกรอบดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์หน้า 1,800-1,850 จุด ติดตามผลประกอบการไตรมาส 4/60 ของบจ.-ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่สำคัญ

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ดัชนีหุ้นไทยสัปดาห์หน้า (22 26 ม.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,810 และ 1,800 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,835 และ 1,850 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ผลประกอบการไตรมาส 4/60 ของบจ. ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่อ่านต่อ

กสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.60-32.00 จับตาตัวเลขส่งออกไทยเดือนธ.ค.60และตัวเลขศก.สหรัฐฯที่สำคัญ

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์เงินบาทสัปดาห์หน้า (22 26 ม.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.60 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยอาจต้องจับตาตัวเลขการส่งออกของไทยในเดือนธ.ค. 2560 ขณะที่ ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญอื่นๆ ระหว่างสัปดาห์ ได้แก่ ยอดขายบ้านใหม่และบ้านมือสอง ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนอ่านต่อ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผย ต่างชาติเที่ยวไทยปี 2561 เป้าหมายรายได้สู่ 2 ล้านล้านบาท

15 ม.ค.61
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2561 ยังมีทิศทางขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง ภายใต้บรรยากาศที่ยังเอื้อต่อการเดินทางท่องเที่ยว และแรงขับเคลื่อนใหม่ๆ นอกจากการทำตลาดการท่องเที่ยวในรูปแบบของความเป็นวัฒนธรรมไทยที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นแล้ว ในปี 2561 การทำตลาดท่องเที่ยวยังเน้นกิจกรรมอื่นๆ เพิ่มขึ้น อาทิ การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sport Tourism) เป็นต้น นอกจากนี้ในส่วนของภาคธุรกิจการบิน ทั้งธุรกิจสายการบินของไทยและของต่างชาติยังมีการเปิดขยายเส้นทางการบินเพิ่มขึ้นระหว่างเมืองรองทั้งในไทยและต่างประเทศ
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2561 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยน่าจะมีประมาณ 64-37.99 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 6.5-7.5 จากที่คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 8.7 ในปี 2560 สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยวน่าจะมีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.97-2.01 ล้านล้านบาท ขยายตัวประมาณร้อยละ 8.8-10.4 จากที่เติบโตประมาณร้อยละ 11.7 ในปี 2560
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการที่เน้นการทำตลาดกลุ่มนักท่องเที่ยวจีนอาจจะต้องติดตามความคืบหน้าความสัมพันธ์ระหว่างจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งหากสถานการณ์กลับมาเป็นปกติอาจมีผลต่อการแข่งขันในตลาดนักท่องเที่ยวจีน
สำหรับเทรนด์การท่องเที่ยวในปี 2561 นี้ ซึ่งมาจากการขับเคลื่อนเทรนด์จากภายนอกประเทศอย่างเทรนด์การท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับเทคโนโลยีการสื่อสาร หรือเทรนด์มาจากการขับเคลื่อนภายในประเทศอย่างนโยบายการทำตลาดการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐอาทิ การท่องเที่ยวที่เน้นความเป็นวิถีไทย การท่องเที่ยวเชิงกีฬา หรือการทำตลาดการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงไปกับอาหาร ซึ่งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวคงจะต้องปรับกลยุทธ์การตลาดท่องเที่ยวให้สอดคล้องไปกับเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยกสิกร